1. หัวข้อ : “สายไม้คราฟท์” ชุมชนประชานฤมิตร ในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น
2. วันที่บันทึก : 20 ก.ย. 2566
3. สรุปกิจกรรมที่ได้ทำ/ชิ้นงานที่ส่ง

(ตัวอย่าง : นักเรียนได้ทำกิจกรรมอะไร ที่ไหน อย่างไร / เกิดอะไรขึ้นบ้าง/ ชิ้นงานที่ส่งคืออะไร มีเนื้อหาโดยคร่าวอะไรบ้าง)


เนื่องจากดิฉันเป็นหัวหน้าโครงงาน "สายไม้คราฟท์" ในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น เพื่อพัฒนาวิสหกิจชุมชนตามปัญหาที่ชุมชนได้ประสบ ซึ่งโครงงานนี้ดิฉันและกลุ่มได้ทำร่วมกับ "ชุมชนประชานฤมิตร" จึงได้มีการลงพื้นที่ชุมชนเพื่อสำรวจและเรียนรู้ปัญหาในชุมชน

จากการลงชุมชนในครั้งแรกพบว่า ชุมชนนี้เป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่ทำงานหัตถกรรมครบวงจรเกี่ยวกับไม้ โดยเน้นไปที่การผลิตไม้เพื่อสร้างและตกแต่งบ้านเป็นหลัก มีตั้งแต่งานชิ้นใหญ่ เช่น  เฟอร์นิเจอร์ไม้ ประตูไม้ ไปจนถึงงานชิ้นเล็กๆเช่น หิ้งพระ เป็นต้น ดิฉันรู้สึกตื่นเต้นมาก เพราะคุณน้องที่เป็นหัวหน้าชุมชนพาเดินแนะนำชุมชนตั้งแต่ต้นซอยไปจนถึงท้ายซอย ดิฉันจึงได้เห็นความเป็นอยู่ของพวกเขาโดยทุกร้านที่เป็นร้านผลิตงานไม้จะมีจุดร่วมกันคือ การได้เศษไม้และขี้เลื่อย เป็นขยะจากกระบวนการผลิตเป็นปริมาณมาก

จากการสอบถามชุมชน พบว่า  ชุมชนไม่มีมาตรการการจัดการทั้งขี้เลื่อยและเศษไม้เหล่านี้อย่างเหมาะสม โดยจะถูกรวมกันไว้ในโกดังของร้านแต่ร้าน เมื่อโกดังเต็มก็จะนำส่งขายเป็นคันรถเพื่อไปเผาไหม้เป็นถ่านไม้หรืออัดเป็นก้อนเชื้อเพลิงต่อไป ซึ่งทางชุมชนชี้ว่า ต้องการนำเศษไม้และขี้เลื่อยไปสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างอื่นและสร้างสามารถรายได้ในชุมชนต่อไป เพราะการเก็บไว้ในชุมชนเฉยๆก็มีแต่จะเปลืองพื้นที่ อีกทั้งชุมชนนี้ได้ใช้ประโยชน์จากไม้มานาน จึงอยากคืนประโยชน์สู่สังคมและสอ่งแวดล้อมด้วย นี่จึงเป็นโจทย์ที่ดิฉันได้รับนำกลับไปคิดต่อค่ะ

สำหรับการลงชุมชนครั้งที่สอง ดิฉันได้เป็นตัวแทนกลุ่มไปนำเสนอไอเดีย ซึ่งรู้สึกเป็นกังวลและประหม่ามาก ซึ่งไอเดียแรกนั้นคือ การนำขี้เลื่อยไปแปรรูปเป็นของเล่นเพื่อเสริมพัฒนาการเด็ก แต่ทางชุมชนเล็งเห็นว่าการผลิตของเล่นขึ้นมาไม้จากขี้เลื่อยนั้นใช้ต้นทุนเยอะกว่าการนำไม้จริงๆไปทำ ดิฉันจึงรับความคิดเห็นทางชุมชนมาเพื่อปรับปรุงและคิดหาไอเดียอื่น ที่เป็นไปได้สำหรับชุมชนและยังคงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แม้ว่าไอเดียจะถูกปฏิเสธและรู้สึกเสียใจเล็กน้อย แต่ดิฉันกลับคิดว่าเป็นโอกาสที่ดีมากที่จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับปัจจัยอื่นๆและความเป็นอยู่ในชุมชนมากขึ้น ในวันนั้นจึงได้กลับมาคิดหาไอเดียอื่นที่ตรงกับความต้องการและเหมาะสมกับชุมชนมากขึ้นค่ะ

ในการลงชุมชนครั้งที่ 3 ดิฉันรู้สึกสบายใจและมั่นใจมากขึ้นในการนำเสนอไอเดียครั้งที่ 2 โดยไอเดียนั้นคือ การนำเศษไม้ที่ได้จากกระบวนการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เช่น ประตู โต๊ะ เก้าอี้ ซึ่งมีรูปร่างหลากหลายทั้งสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม ลูกเต๋า มาทำความสะอาดและขัดเรียบเตรียมผิวไม้เพื่อทำชิ้นงานศิลปะบนแผ่นไม้ ซึ่งโครงงานดังกล่าว จะเป็นการนำเศษไม้เหลือในชุมชนที่มีปริมาณมากมาใช้ และ เป็นการผลิตสินค้าเพื่อขายให้ลูกค้าได้ซื้อเพื่อนำไปทำงานศิลปะที่สามารถจรรโลงใจ ผ่อนคลาย ระบายคสามรู้สึก พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและความคิดสร้างสรรค์ของผู้ทำงานค่ะ โดยทางชุมชนเห็นด้วยและชื่นชอบมาก เพราะในชุมชนไม่มีสินค้าสำหรับทำงานศิลปะจากไม้มาก่อน กลุ่มของดิฉันและชุมชนได้ประชุมกันและเลือกสีอะคริลิคเป็นสีที่ใช้ทำงานบนแผ่นไม้ เพราะติดทนและไม่เป็นอันตรายต่อผู้ทำงาน ซึ่งสินค้านี้จะใช้ชื่อว่า "สายไม้คราฟท์" มาจากชื่อถนนของชุมชน และ คราฟท์ ที่เป็นชิ้นงานให้ผู้คนเข้ามาร่วมกันรังสรรค์ผลงานศิลปะตามใจตนเองค่ะ

สินค้า "สายไม้คราฟท์" ได้เข้าร่วมขายใน "เทศกาลย่านสร้างสรรค์กรุงเทพฯ: บางโพวู้ดสตรีท" เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ.2566 ทดลองขายจำนวน 26 กล่อง ขายเป็นเซต ภายในเซตจะประกอบด้วย แผ่นไม้รูปร่างต่างๆ 3-4 ชิ้น พู่กัน 2 ด้าม และชุดสีอะคริลิคขนาดเล็ก 7 สี โดยขายทั้งหมดได้ 26 กล่องค่ะ 

4. สะท้อนความคิด

(ตัวอย่าง : รู้สึกอย่างไรบ้าง/ ประทับใจอะไรจากสิ่งที่ทำ/ คิดว่าสิ่งใดเราทำได้ดี สิ่งไหนเราสามารถพัฒนาได้อีก/ *นักเรียนได้เรียนรู้อะไรใหม่บ้าง และจะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร)


ตลอดการทำงาน ดิฉันรู้สึกประทับใจและภาคภูมิใจในตนเองค่ะ เพราะได้พัฒนาทักษะและแก้ปัญหาหลายๆอย่าง อีกทั้งยังเป็นครั้งแรกที่ได้ทำงานร่วมกับคนหมู่มาก ในครั้งแรกดิฉันจึงรู้สึกตื่นเต้นและมีความคิดว่าเราจะสามารถทำงานนี้ได้หรือไม่ ทุกครั้งที่พบปัญหาดิฉันก็พยายามตั้งสติ แม้ว่าดิฉันจะรู้สึกตกใจและลนเมื่อเจอปัญหาในครั้งแรกๆ แต่ทางชุมชนก็ชื่นชมว่าแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีมากและรู้สึกว่าพวกเราต้องการแก้ปัญหาให้ชุมชนจริงๆ นี่จึงเป็นสิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้ว่า การทำอะไรด้วยความตั้งใจและให้ความพยายามกับมัน จะทำให้เราประสบความสำเร็จค่ะ 

นอกจากนี้ ดิฉันยังได้ฝึกและพัฒนาทักษะอื่นๆอีกหลายด้าน เช่น

-ทักษะในการสื่อสาร อาจจะเพราะความเคยชินกับการพูดในเชิงวิชาการกับเพื่อนๆและอาจารย์ในวิทยาลัย เมื่อได้ลงชุมชน เลยรู้สึกกระอักกระอ่วนเวลาที่ได้อธิบายทุกสิ่งที่คิดออกไปให้พี่ๆในชุมชนเข้าใจไม่ได้ ดิฉันจึงได้นำกลับมาคิดทุกครั้งและเตรียมตัวก่อนไปลงชุมชน ดิฉันได้เรียนรู้การสื่อสารที่เข้าใจง่ายมากขึ้น

-ทักษะในการบริหารเวลา เนื่องจากดิฉันมีการเรียนในหลักสูตรทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ ตั้งแต่ 08:00-17:00 ดิฉันจึงได้ฝึกจัดการภาระงานการเรียน การเตรียมตัวอ่านหนังสือสอบและการแบ่งเวลาเพื่อไปทำโครงงานดังกล่าว นี่จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ดิฉันรู้สึกว่าตนเองพัฒนาขึ้นมาก เพราะตนเองไม่เคยได้เขียนและวางแผนตารางเวลาการทำงานอย่างจริงจังมาก่อน และจะนำทักษะนี้ไปประยุกต์การจัดการและวางแผนตารางเวลาต่อไปค่ะ

 

รูปภาพการทำกิจกรรม

https://drive.google.com/drive/folders/1-8-3CTrFyCZXhGPGOb1FPIvyqpaoXui_

 

5. เอกสารประกอบ
ไม่พบเอกสารประกอบ
6. มุมมอง จากอาจารย์ที่ปรึกษา

                   

6.1 ความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษา

6.2 จุดเด่น

6.3 โอกาสพัฒนา

ประเมิน PCM STAR
หัวข้อที่ / รายละเอียด ประเมินตนเอง อาจารย์ประเมิน


Copyright @ PCM Portfolio